วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share)

การแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย


ความหมายและลักษณะของส่วนแบ่งทางการตลาด


     ส่วนแบ่งทางการตลาดคือ การจัดแบ่งลูกค้าที่มีอยู่ทั้งหมดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยจัดให้คนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน ด้านความต้องการในผลิตภัณฑ์มีการตอบสนองต่อสิ่งเล้าทางการตลาดที่เหมือนกัน เป็นกลุ่มตลาดเดียวกัน


แนวความคิดเกี่ยวกับส่วนแบ่งทางการตลาด

    โดยแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิดคือ แนวความคิดตลาดมวลชนและแนวความคิดตลาดแบบแยกส่วน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ

     1. แนวความคิดตลาดมวลรวม หรือแนวความคิดในการมองตลาดแบบไม่แยกความแตกต่าง เป็นตลาดที่มองว่าตลาดมีความต้องการ ความชอบ พฤติกรรมในการซื้อและการตัดสินใจในการซื้อสินค้าที่เหมือนกัน


     2. แนวความคิดตลาดแบบแบ่งส่วน เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นเมื่อมีการศึกษาพฤติกรรมผู้ซื้อ ทำให้ทราบผู้มุ่งหวังแต่ละคนมักมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านความต้องการ อำนาจซื้อ นิสัยการซื้อ ถิ่นที่อยู่ ความเชื่อและวัฒนธรรม ตลอดจนเงื่อนไขอื่น ๆ ดังนั้นบริษัทจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเฉพาะเพ่อตอบสนองความต้องการด้านตลาดในแต่ละส่วนทำให้ธุรกิจได้เปรียบ และเข้าถึงการตอบสนองได้ครบถ้วน 


     แม้ธุรกิจจะใช้แนวความคิดแบบแบางส่วนทางการตลาดแล้ว ก็ยังมีปัญหาที่ว่าขนาดของส่วนแบ่งทางการตลาดมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถตอบสนองได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจอย่างแท้จริง นักการตลาดจึงแบ่งส่วนการตลาดให้เล็กลงไปอีกได้แก่

2.1 การตลาดเฉพาะส่วน
2.2 การตลาดท้องถิ่น
2.3 การตลาดเฉพาะบุคคล
2.4 การตลาดที่มีผู้มุ่งหวังมีส่วนร่วม

ประโยชน์ของส่วนแย่งทางการตลาด
     1 บริษัทได้ทราบถึงความต้องการและความพอใจของแต่ละส่วนตลาด
     2 ทำให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าสามารถเลือกตลาดส่วนย่อยส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนมาเป็นตลาดเป้าหมายได้ตามความต้องการ
     3 ทำให้นักการตลาดสามารถวิจัยตลาดและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละส่วนแบ่งทางการตลาดได้ง่ายและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
     4 ทำให้การวางแผนทางการตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 
กระบวนการส่วนแบ่งทางการตลาด มีขั้นตอนดังนี้

     1 ขั้นตอนการสำรวจ
     2 ขั้นตอนการวิเคราะห์
     3 ขั้นตอนการกำหนดคุณสมบัติ

 
ลักษณะของส่วนแบ่งทางการตลาดที่ดี

     1 ต้องปรากฏชัดและสามารถวัดออกมาได้
     2 ต้องสามารถเข้าถึง และตอบสนองความต้องการของตลาดนั้นได้
     3 ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ

หลักเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
     1 ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ภูมิศาสตร์ คือการแบ่งตลาดออกมาตามเขตทางภูมิศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ทวีป ประเทศ รัฐ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน บริษัทจะต้องใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันตามที่ตั้งของตลาด
     2 ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ประชากรศาสตร์ คือการแบ่งส่วนตลาดตามเกณฑ์ตัวแปรประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ ขนาดครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ
     3 ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์ลักษณะจิตนิสัย โดยใช้เกณฑ์รูปแบบการดำเนินชีวิต บุคคลิกภาพ ชนชั้นทางสังคม ค่านิยม
     4 ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์พฤติกรรม แบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรม แบ่งกลุ่มตามพื้นฐานความรู้ เจตคติ การใช้หรือตอบสนองต่อผลิตภัณ์ฑนักการตลาดเชื่อว่า ตัวแปรด้านพฤติกรรมมีหลาย ๆ อย่งเช่น
     4.1 โอกาสในการซื้อ
     4.2 การแสวงหาผลประโยชน์
     4.3 สถานะของผู้ใช้
     4.4 อัตราการใช้ผลิตภัณธ์
     4.5 สภาพความซื้อสัตย์
     4.6 ขั้นตอนความพร้อม
     4.7 เจตคติ

 พฤติกรรมผู้บริโภค


     พฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior) หมายถึง การแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริกรทางเศรษฐกิจ รวมทั้งกระบวนการในการตัดสินใจที่มีผลต่อการแสดงออก
ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
     1. ช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค
     2. ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถหาหนทางแก็ไขพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น
     3. ช่วยให้การพัฒนาตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ดีขึ้น
     4. เพื่อประโยชน์ในการแบ่งส่วนตลาด เพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ให้ตรงกับชนิดของสินค้าที่ต้องการ
     5. ช่วยในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจต่าง ๆ เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งขัน

กระบวนการพฤติกรรมผู้บริโภค (Process of Behavior)
     1. พฤติกกรมเกิดขึ้นได้ต้องมีสาเหตุทำให้เกิด
     2. พฤติกรรมเกิดขึ้นได้จะต้องมีสิ่งจูงใจหรือแรงกระตุ้น
     3. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมมุ่งไปสู่เป้าหมาย

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
     1. ปัจจัยทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สุดในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การศึกษา ความเชื่อ ยังรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่ได้รับการยอมรับภายในสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ

ลักษณะชั้นทางสังคม ประกอบด้วย 6 ระดับ
     ขั้นที่ 1 Upper-Upper Class ประกอบด้วยผู้ที่มีชื่อเสียงเก่าแก่เกิดมาบนกองเงินกองทอง
     ชั้นที่ 2 Lower –Upper Class เป็นชั้นของคนรวยหน้าใหม่ บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในวงการบริหาร เป็นผู้ที่มีรายได้สูงสุดในจำนวนชั้นทั้งหมด จัดอยู่ในระดับมหาเศรษฐี
     ชั้นที่ 3 Upper-Middle Class ประกอบด้วยชายหญิงที่ประสบความสำเร็จในวิชาอื่น ๆ สมาชิกชั้นี้ส่วนมากจบปริญญาจากมหาวิทยาลัย กลุ่มนี้เรียกกันว่าเป็นตาเป็นสมองของสังคม
     ชั้นที่ 4 Lower-Middle Class เป็นพวกที่เรียกว่าคนโดยเฉลี่ย ประกอบด้วยพวกที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก พวกทำงานนั่งโต๊ะระดับต่ำ
     ชั้นที่ 5 Upper-Lower Class เป็นพวก จนแต่ซื่อสัตย์ ได้แก่ชนชั้นทำงานเป็นชั้นที่ใหญ่ที่สุดในชั้นทางสังคม
     ชั้นที่ 6 Lower-Lower Class ประกอบด้วยคนงานที่ไม่มีความชำนาญกลุ่มชาวนาที่ไม่มที่ดินเป็นของตนเอง
ชนกลุ่มน้อย
2. ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซ้อ ซึ่ง
ประกอบด้วยกลุ่มอ้างอิง ครอบครัว บทบาท และสถานะของผู้ซื้อ
      2.1 กลุ่มอ้างอิง หมายถึงกลุ่มใด ๆ ที่มีการเกี่ยวข้องกัน ระหว่างคนในกลุ่ม แบ่งเป็น 2 ระดับ
      - กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ครอบครัว เพื่อนสนิท มักมีข้อจำกัดในเรื่องอาชีพ ระดับชั้นทางสังคม และช่วงอายุ
     - กลุ่มทุติยภูมิ เป็นกลุ่มทางสังคมที่มีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว แต่ไม่บ่อย มีความเหนียวแน่นน้อยกว่ากลุ่มปฐมภูมิ
     2.1 ครอบครัว เป็นสถาบันที่ทำการซื้อเพื่อการบริโภคที่สำคัญที่สุด นักการตลาดจะพิจารณา
ครอบครัวมากกว่าพิจารณาเป็นรายบุคคล
     2.2บทบาททางสถานะ บุคคลที่จะเกี่ยวข้องกับหลายกลุ่ม เช่น ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง ทำให้บุคคลมีบทบาทและสถานภาพที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
     3. ปัจจัยส่วนบุคคล การตัดสินใจของผู้ซื้อมักได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การศึกษา รูปแบการดำเนินชีวิต วัฏจักรชีวิตครอบครัว
     4. ปัจจัยทางจิตวิทยา การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งจัดปัจจัยในตัว
ผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและใช้สินค้า ปัจจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วยการจูงใจ การรับรู้ ความเชื่อและเจตคติ บุคลิกภาพและแนวความคิดของตนเอง


     นักจิตวิยามาสโลว์ได้กำหนดทฤษฏีลำดับขั้นตอนของความต้องการซึ่งกำหนดความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ ซึ่งจัดลำดับจากความต้องการระดับต่ำไปยังระดับสูงคือ
1. ความสำเร็จส่วนตัว
2. ความต้องการด้านอีโก็ (ความภาคภูมิใจ สถานะ ความเคารพ)
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความปลอดภัยและมั่นคง
5. ความต้องการของร่ายกาย


กระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ
      ขั้นที่ 1 การรับรู้ถึงปัญหา กระบวนการซื่อจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการของตนเอง
      ขั้นที่ 2 การค้นหาข้อมูล ในขั้นนี้ผู้บริโภคจะแสวงหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจ ในขั้นแรกจะค้นหาข้อมูลจากแหล่งภายในก่อน เพื่อนำมาใช้ในการประเมินทางเลือก หากยังได้ข้อมูลไม่เพียงพอก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งภายนอก
      ขั้นที่ 3 การประเมินผลทางเลือก ผู้บริโภคจะนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ทั้งในลักษณะการเปรียบเทียบหาทางเลือกและความคุ้มค่ามากที่สุด
      ขั้นที่ 4 การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด หลังการประเมิน ผู้ประเมินจะทราบข้อดี ข้อเสีย หลังจากนั้นบุคคลจะต้องตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก็ปัญหา มักใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็นเกณฑ์ ทั้งประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่น
      ขั้นที่ 5 การประเมินภายหลังการซื้อ เป็นขั้นสุดท้ายหลังจากการซื้อ ผู้บริโภคจะนำผลิตภัณฑ์ที่ซื้อนั้นมาใช้ และในขณะเดียวกันก็จะทำการประเมินผลิตภัณฑ์นั้นไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ไม่ได้หยุดตรงที่การซื้อ










ตัวอย่างส่วนแบ่งทางการตลาดของขนมต่างๆ



45 ความคิดเห็น:

  1. เป็นเนื้อหาที่น่ากลัว ที่จะเอามาเป็นข้อสอบ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาใช้ด้ายคะ


    เรียบๆดี

    ตอบลบ
  3. สวยงามจิงๆเพื่อนเราๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดีค่ะ

    เรียบง่าย คลาสสิคดี

    :)

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาละเอียดีจ้ะ..

    มีประโยชน์สามารถนำไปใช้..

    ในการทำงานได้ในอนาคตอ่ะนะ..

    ตอบลบ
  6. เรียบง่ายดี

    เนื้อหาแน่นปึ๊กดี *-*

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาเยอะดี
    น่าอ่านจ๊ะ

    ตอบลบ
  8. + + ชอบพื้นหลังอะ เนื้อหาโอเค มีภาพประกอบและ

    MU 51132793025

    ตอบลบ
  9. หมวด เนื้อหาดีนะ

    ตอบลบ
  10. พื้นสวยมาก เนื้อดีเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  11. ตัวหนังสืออ่านง่าย
    เนื้อหาเคยเรียนแล้ว
    อ่านไปยิ่งทำให้เข้าใจ

    ตอบลบ
  12. เนื้อหาเยอะมากๆๆ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  13. เรียบดีครับเพือน

    เรียบๆๆแต่อ่านง่ายดีอะ

    ตอบลบ
  14. เนื้อหาอ่านง่ายดี

    เนื้อหาเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  15. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย

    ทำได้ดูดีมากเลยอ่ะ

    ตอบลบ
  16. เนื้อน่าสนจัยมาก

    ตกแต่งแมนมาก(51152793095)

    ตอบลบ
  17. ตัวอักษรอ่านยากไปน่อย
    แต่ก็สวยคับ.....อิอิ

    ตอบลบ
  18. เนื้อหา ดี อ่านง่าย จ้า เพิ่ลชาย

    ตอบลบ
  19. มีการแบ่งส่วนการตลาดด้วยหวะ สุดยอดๆๆๆ

    ตอบลบ
  20. เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจ
    สบายตา
    สวยดีๆๆๆนะ

    ตอบลบ
  21. เนื้อหาเยอะเหมือนกันนะเรา

    ตอบลบ
  22. เนื้อ หา ดี รู้ถึ ง ส่วนแบ่งทางการตลาด ได้ดี

    นำไปใช้ประโยชน์ ได้ เยอะ เลย ^^

    ตอบลบ
  23. จัดเรียงเนื้อเป็น หมวดหมู่ได้ดีมากเรยครับ

    ตอบลบ
  24. เนื้อ หา ดี ทำให้เข้าใจเรื่องส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น

    ตอบลบ
  25. มอส ช่ายด้าย เนื้อหาดี

    ตอบลบ
  26. เนื้อหาดีค่ะ เพื่อนมิว

    ตอบลบ
  27. เนื้อหาดี

    อ่านง่ายด้วย

    ตอบลบ
  28. ดีมากนะ เนื้ออะดีมาก

    ตอบลบ
  29. เนื้อหาเยี่ยมไปเลยเพื่อน ใช้ได้ ใช้ได้

    ตอบลบ
  30. เนื้อหา ดีครับ

    อ่านง่ายเข้าใจง่าย

    แจ๋วอ่ะนาย

    ตอบลบ
  31. ไม่ระบุชื่อ18 กันยายน 2553 เวลา 13:09

    ที่มาของข้อมูล
    เอามาจากไหน
    อยากรู้.....
    คิดว่ามีที่ผิดนะ
    ผิดตรงไหนถ้าหาเจอ
    มาบอกด้วยจะให้คะแนนเพิ่ม
    เพราะสะสมไว้น้อย

    ตอบลบ
  32. เนื้อหาดีมาก แต่พื้นหลังตาลายมากอ่านแทบไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

    ตอบลบ
  33. เนื้อหาเข้ใจง่ายดีค่ะ แต่ไปเจอเว๊ปอื่นว่า Market Share มันเป็นการเทียบกับคู่แข่งด้วยยอดขายอะไรประมาณนี้อะค่ะ เลยไม่แน่ใจอยากทราบว่ามันเหมือนหรือต่างกันยังไงคะ พอดีอาจารย์ให้ทำโครงงานจะต้องมีการคิด ส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยอะคะ เลยไม่แน่ใจว่าจะเอาจะวิเคราะห์แบบไหนดี ตอนนี้เลยวิเคราะห์ออกไปทางแนวของเว๊ปนี้ไปก่อนอะคะ อยากได้คำตอบด้วยนะคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบร่วงหน้านะคะขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ